jump to navigation

เฮ้อ อีกรอบกับ . ความเบื่อหน่าย . . .หน่าย . . . .อยากกลับดาว!! :’( February 28, 2008

Posted by Grassy Green in 1.
trackback

p2985_4.jpg

“หน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่เมืองไทย. . .ทำอะไรต่อไป” (ได้ล่ะ)

“ทุกวิกฤตมีทางเลือก ทุกวิกฤตมีทางเลี่ยง ทุกวิกฤตมีทางรอด”

“เมื่อมีรัก. . .ก็ย่อมมีหวัง” (สิ)

บอกได้คำเดียว . . . “ถ้าคุณแน่!!. . . อย่าแพ้เด็กป.4″  เฮ้ออออ

“ไม่เอาแบบนี้ ไม่เอาแล้ว กลับดาว กลับดาว กลับดาว ขอแผนที่ด้วย มืน กลับไม่ถูก”

.

 .

“ที่พูดมานั้นก็เป็นการแสดงความเบื่อหน่ายต่อนักการเมือง

แล้วก็เลยพลอยเบื่อการเมืองคลุมไปหมดเลย”

.
ก็ต้องมองเป็นขั้นๆ ไป การที่จะไม่ยอมรับรู้ ปิดหูปิดตาไปเลย

ก็หนักไปหน่อย อาจถือว่าสุดโต่งไปข้างหนึ่ง

.

แต่ถ้าเราจะติดตามเรื่องเอาจริงเอาจังหนักไป จนกระทั่งเสียการเสียงานของเรา

ใจไม่อยู่กับงาน ก็สุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง

.

ลองมองง่ายๆ ถ้าเราไปอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง หรือเราต้องไปพักที่ไหนสักแห่งหนึ่ง

เราก็น่าจะต้องรู้สภาพแวดล้อมที่นั่นว่าเป็นอย่างไร รู้จักบริเวณนั้นว่าปลอดภัยไหม

ทางหนีทีไล่เป็นอย่างไร มีอะไรที่เป็นข้อมูลทั่วไปพอให้ทราบไว้

เพื่อว่าเราจะอยู่ได้โดยมีความสบายใจพอสมควร

อย่างน้อยในแง่ความมั่นคงปลอดภัยของตัวเราเอง

.

สังคมนี้ ก็เป็นสิ่งที่แวดล้อมเราอยู่ มีอะไรเกิดขึ้น ก็ต้องกระทบตัวเรา กระทบคนที่เรารัก

กระทบคนและกิจการที่เรารับผิดชอบ เราจึงต้องรู้ไว้ พอให้มองอะไรๆ ออกบ้าง

พอจะวางตัวได้ในสถานการณ์ที่เป็นไป

อย่างน้อยในจิตใจก็พอจะมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยพอสมควร

มิฉะนั้น ความไม่รู้นี้ มันจะทำให้เราปรับตัวไม่ได้ทันการณ์

.

“รู้” นี่สำคัญมาก ถึงแม้ว่าเราจะไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

เราก็ต้องรู้หรือควรจะรู้มัน เราเอาแต่ความรู้ ความรู้สึกเราไม่ยุ่ง

ถ้าเกิดความรู้สึกขึ้นมา เราก็รู้ว่าเรามีความรู้สึกนั้น แค่นั้นพอ

ไม่ต้องตามมันไป พอได้ความรู้แล้ว ก็กลับมาอยู่กับเรื่องของเราต่อไป

.

ตอนนี้ ปัญหาอยู่ที่ว่า บางทีเราไม่แยกระหว่าง” ความรู้” กับ “ความรู้สึก”

พอรู้อะไร ความรู้สึกก็มาทันที เพราะว่าพอรู้ก็มี ถูกใจหรือไม่ถูกใจ

ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ นี่คือรู้สึก แล้วแทนที่จะอยู่กับความรู้หรือเก็บความรู้ต่อไป

เราก็เลยไถลไปกับความรู้สึก นี่คือผิดทาง

.

พอชอบใจ ไม่ชอบใจ เรื่องก็ยืดต่อ ที่ชอบก็คิดไปอย่างหนึ่ง

ที่ไม่ชอบก็คิดไปอีกอย่างหนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อไม่ชอบ ใจคอก็ขุ่นมัวหม่นหมอง

กังวลวุ่นวาย อะไรต่างๆ บางทีก็พลอยเสียไปหมด

.

ในทางที่ถูก เมื่อรู้สึกไม่ชอบใจ ก็ให้รู้ตัวว่าเราไม่ชอบใจ แล้วก็จบ

แต่ตอนนั้นเราได้ความรู้ไปแล้ว ด้านไม่พอใจเป็นความรู้สึก

เราก็เอาความรู้มามองความรู้สึกของเราด้วยว่า

เรามีเหตุผลไหมว่า ทำไมเราจึงไม่พอใจ

ถ้าเราเห็นว่า เรามีเหตุผล ความรู้สึกนี้ก็จะช่วยในการจับจุดจับแง่

และเลือกความรู้ และช่วยเราในการป้องกันตัว

ความรู้สึกก็มีประโยชน์เหมือนกัน ความรู้สึกไม่พอใจ ไม่สบายใจ ความรู้สึกทุกข์

มันช่วยกระตุ้นเตือนคน

ถ้าเราใช้เป็น ก็ใช้มันเป็นตัวส่งเรื่องต่อไปให้ปัญญา

การที่เราไม่พอใจนี้ อาจจะมีเหตุผลว่าสถานการณ์นั้นเป็นเรื่องไม่ดี มีอันตราย

เราจะได้เตรียมตัวรับมือ ตั้งรับมัน หรือปฏิบัติต่อมันได้ถูก

ถ้าไม่รู้เลยจะลำบากมากนะ พอเกิดอะไรขึ้นมา ก็มองไม่ออกว่าสถานการณ์นี้มันมาอย่างไร

จะไปอย่างไร ความรู้เท่าทันนี่ต้องมีเป็นธรรม ดา

เพียงแต่ให้แยกออกมาได้จากความรู้สึก ต้องไม่ให้ความรู้สึกมาครอบงำจิตใจ

หรือมามีอิทธิพล ที่จะทำให้เกิดปัญหาแก่จิตใจของเราต่อไปคนเราจะอยู่ดีต้องมีความรู้ ซึ่งสำคัญมาก ต้องแยกความรู้กับความรู้สึกให้ได้

และมันก็เป็นการฝึกตัวเราอย่างหนึ่งด้วย 

.

เราสามารถช่วยสังคมได้เป็นระดับๆ เป็นขั้นๆ ตามกำลังอิทธิพลในฝ่ายดีของเรา

อย่างน้อยเราก็เป็นตัวหน่วงเหนี่ยวสังคมไว้ไม่ให้เลื่อนไหลไปลงเหวไวเกินไป

และถ้าเรามีกำลังมาก เราก็อาจจะมาต้าน มาดึงสังคมไว้ได้บ้าง

เรียกว่า ช่วยกันทำในรูปแบบต่างๆ พอจะถ่วงจะตรึงไว้ เพราะว่าสภาพทั่วไปมันไม่เอื้อ

เราไปเกี่ยวข้องกับสังคมนี้ ที่มีสภาพอย่างนี้ ที่จุดใดก็ตาม

แม้แต่งานของเรา งานที่เรารักเราชอบมีคุณค่า เราอาจเห็นว่าไม่เกี่ยวกับการเมือง

แต่มันมีแง่โยงกันจนได้ บางทีสถานการณ์ของสังคมมันเป็นไปเอง

มันมาโยงกับงานของเราจนได้ 

.

“หลักการของพระพุทธศาสนา คือ อย่าไปสุดโต่ง” 

สุดโต่งข้างหนึ่ง คือใช้กำลัง

หรือรุนแรงเข้าใส่กัน มีกำลังเท่าไร ใช้ให้หมด ฆ่ากันเลย เอาชนะให้จบสิ้นกันไป 

อีกสุดโต่งหนึ่ง คือ ยอมเขาไป

ไม่ทำอะไร อย่างชาวพุทธบางทีก็คิดว่า เวรระงับด้วยการไม่จองเวร เลยปล่อย

เขาจะทำอะไรก็ยอม ไม่จองเวร ดีไม่ดีเข้าใจว่าพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น

แต่นี่คือสุดโต่ง

.

CASE STUDY: “เรื่องมโหสถ”

เราไม่ได้ทำอะไรเขา เราอยู่ของเราดีๆ

ต่อมา อีกประเทศหนึ่งเขาต้องการความยิ่งใหญ่ ก็ยกทัพมาบุก

ทีนี้ ทำอย่างไรจะสู้เขาได้ มโหสถว่าเราต้องรักษาบ้านเมืองของเราไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน

นี่เป็นอันว่าไม่ใช่ปล่อยให้เขาทำร้าย แต่เราจะทำอย่างไร ??

.

หลักการก็คือ “ต้องให้เขาทำอะไรเราไม่ได้ ให้เขายอมแพ้ แต่เราก็จะไม่ทำร้ายเขาด้วย”

นี่ยากที่สุด พุทธศาสนิกต้องมีความสามารถขนาดนี้ หมาย ความว่าต้องพัฒนาตนอย่างยิ่ง

เช่นต้องมีปัญญาอย่างเยี่ยมยอด เป็นต้น

.

มโหสถคิดวางแผน ใช้วิธีการถ่วงเวลาทัพศัตรูที่มารุกรานไว้ ตัวเองมีความสามารถมาก

ถึงกับไปตลบหลังที่บ้านเมืองเขา ไปจัดการกับพวกราชวงศ์

ตั้งแต่มเหสีเป็นต้นไป ให้อยู่ในเงื้อมมือ

พอพร้อมถึงเวลาก็เปิดเผยว่าเรื่องเป็นอย่างนี้แล้ว จะยอมหรือไม่

ฝ่ายตรงข้ามนั้นไม่มีทางแก้ไข ก็ต้องยอมจำนน

.

เมื่อเขายอมแล้ว มโหสถก็ไม่ได้ไปทำอะไรเขา แต่ให้เขารู้ว่าเรามีหลักการอย่างนี้ๆ

ฝ่ายนั้นตกลงว่า 1) ยอมเลิกรา ไม่รบ   2) เป็นมิตรกันต่อไป

เพราะทางฝ่ายเราก็ไม่ได้ต้องการจะไปครอบครองประเทศของเขา

ไม่ได้ต้องการให้เขาแพ้อะไรด้วย ก็เป็นอันว่าสงบศึก

.

หมายความว่าชาวพุทธต้องทำให้ได้ขนาดนี้ ต้องมีความสามารถพิเศษอย่างมาก

.

นี่คือแนวคิดพุทธ ซึ่งหายากที่จะมีใครคิดแบบนี้

ส่วนมากจะคิดแค่ว่าทำอย่างไรจึงจะชนะเขา แล้วก็มุ่งที่จะฆ่า จะทำร้ายกัน

ก็ต้องยอมรับว่า วิธีแบบพุทธนี่ทำได้ยากมาก

แต่ถ้าจะให้โลกมีสันติ ก็ต้องพยายามทำตามหลักธรรมวิชัยนี้ให้ได้

มิฉะนั้นก็อยู่ในวังวนแห่งสงครามและความขัดแย้งกันต่อไป จนกว่าอารยธรรมจะพินาศ
.

(ขอขอบพระคุณ ความกระจ่างของท่าน “พระพรหมคุณาภรณ์”)………………….สาธุ 🙂  ♥

(ขอขอบคุณ ภาพจาก forward mail)

 

Comments»

1. ชุดเดรส - November 30, 2010

เดินสายกลางตามหลักของพระพุทธเจ้า ออกกำลังจิตใจให้เข้มแข็งค่ะ ชอบตรงคำของท่าน ว.วชิรเมธี ที่ว่า “กิเลส Management” คนเราต้องรู้จักจัดการกิเลสของตนเอง


Leave a comment